top of page
ค้นหา

ทำไมถึงไม่ควรดูดน้ำออกจากช่องท้องของแมวที่เป็น FIP แบบเปียก

อัปเดตเมื่อ 28 ก.ค.


ทำไมถึงไม่ควรดูดน้ำออกจากช่องท้องของแมวที่เป็น FIP แบบเปียก
ทำไมถึงไม่ควรดูดน้ำออกจากช่องท้องของแมวที่เป็น FIP แบบเปียก

การสะสมของเหลวในช่องท้องและบริเวณหน้าอกของแมวที่เป็นโรค FIP แบบเปียกนั้น มีสาเหตุมาจากการอักเสบของหลอดเลือด หรือทางการแพทย์เรียกว่า แผลอักเสบของหลอดเลือด (Vasculitis)

หลังจากที่เราทราบสาเหตุกันแล้ว เราเชื่อว่าทุกคนยังมีคำถามอยู่ว่า “เราควรดูดน้ำออกหรือไม่?”

การตัดสินใจจะดูดน้ำออกหรือไม่ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ ในบทความนี้เราจะจำลองสถานการณ์ตัวอย่าง พร้อมแนวทางปฏิบัติที่เราแนะนำไว้ 2 เหตุการณ์ด้วยกัน



เหตุการณ์ที่ 1 น้ำในบริเวณช่องท้องของแมวมีปริมาณมาก ขนาดหน้าท้องแมวใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่แมวยังสามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และหายใจได้อย่างสะดวก

จากเหตุการณ์จำลองข้างต้น เราไม่แนะนำให้ดูดน้ำออกจากช่องท้องของแมว ควรเริ่มการรักษาด้วย GS-441524 ที่ปริมาณ 6 มก./กก. ทันที คุณจะสังเกตเห็นอาการบวมในช่องท้องลดลงภายใน 1.5 – 2 สัปดาห์หลังทำการรักษา FIP โดยที่ร่างกายจะค่อยๆดูดซึมของเหลวจากช่องท้อง และขับออกได้ด้วยตัวเอง ประกอบกับเชื้อไวรัส FIP จะค่อยๆถูกกำจัดออกจากร่างกายอย่างต่อเนื่อง



สาเหตุที่เราไม่แนะนำให้ดูดน้ำออกจากร่างกายของแมวตามเหตุการณ์จำลองนี้ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากการศูนย์เสียน้ำอย่างฉับพลัน จะส่งผลให้ร่างกายสร้างน้ำขึ้นมาทดแทนอย่างอย่างรวดเร็ว ซึ่งบ่อยครั้งมักส่งผลให้แมวเกิดภาวะขาดน้ำ และขาดโปรตีน เพราะฉะนั้นถ้าแมวยังสามารถรับประทานอาหาร และดื่มน้ำ ได้อย่างปกติ ไม่มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรักษาที่อาจจะก่อความเสียหายเพิ่มเติมต่อระบบร่างกายที่เปราะบางของแมวอยู่แล้วเป็นทุนเดิม

เหตุการณ์ที่ 2 การขยายตัวของช่องท้องส่งผลให้เกิดภาวะหายใจลำบาก และรับประทานอาหารยาก


จากเหตุการณ์จำลองข้างต้นนี้ เราแนะนำให้ดูดน้ำออกจากช่องท้องแมวเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ไม่ดูดออกทั้งหมด ภาวะหายใจลำบากนั้นส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจเกิดภาวะเครียดขึ้นในรูปแบบ อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น และภาวะหัวใจทำงานหนัก อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในกรณีที่เกิดภาวะเครียดขั้นรุนแรง แม้ว่าการดูดน้ำออกจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำ และขาดโปรตีน แต่จากเหตุการณ์นี้การดูดน้ำออกส่งผลดีมากกว่าส่งผลเสียในการรักษา


การดูดน้ำออกจากช่องท้องแมวควรทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้ระบบการทำงานของร่างกายช็อค และส่งผลถึงชีวิตได้ โดยทั่วไปเราแนะนำให้ดูดน้ำออกน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำในช่องท้องหรือหน้าอกทั้งหมด ทั้งนี้การรักษา FIP แบบเปียกในลูกแมว และแมวอายุเยอะนั้น ควรระมัดระวังเรื่องการดูดน้ำออกมากเป็นพิเศษ โดยควรดูดน้ำออกมาในปริมาณที่น้อยลงเมื่อเทียบกับการดูดน้ำออกจากแมววัยเจริญพันธุ์ปกติ

เรื่องสำคัญที่ควรตระหนักไว้ในกรณีนี้คือ ภาวะน้ำในช่องท้องหรือหน้าอกจะกลับมาโตขึ้นอีก เว้นแต่ว่าจะเริ่มดำเนินการรักษาด้วย GS-441524 โดยในกรณีนี้เราแนะนำให้เริ่มต้นการรักษาในปริมาณ 6 มก./กก.


บทสรุปของเหตุการณ์จำลองทั้ง 2 เหตุการณ์ข้างต้นดังกล่าว เราสรุปได้ว่า:

  1. หากน้ำในช่องท้องไม่ส่งผลให้เกิดภาวะหายใจลำบาก และรับประทานอาหารไม่ได้ ควรหลีกเลี่ยง และละความพยายามในการที่จะดูดน้ำออก

  2. เมื่อจำเป็นต้องดูดของเหลวออก ให้ระมัดระวังปริมาณที่จะดูดออก ดูดน้ำออกให้น้อยกว่าที่เรากะประมาณเสมอ เนื่องจากการดูดน้ำออกฉับพลันมีผลกระทบในเรื่องสรีรวิทยาของแมวได้

  3. ท้ายที่สุดแล้วหลังจากดูดน้ำออก น้ำจะกลับมาเพิ่มขึ้นใหม่ สภาวะร่างกายจะกลับมาเหมือนตอนก่อนดูดน้ำออก และอาจแย่ลง นอกเสียจากว่าแมวจะเริ่มต้นการรักษาด้วย GS-441524 ยาแก้อักเสบสามารถลดอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากยาแก้อักเสบไม่สามารถจับการขยายตัวของเชื้อไวรัส FIPV ได้ การรักษา FIPV วิธีการเดียวที่สามารถทำได้นั้น คือการรักษาด้วย GS-441524 ถึงจะสามารถหายขาดจากโรคนี้ได้

แชร์บทความนี้ให้กับคนที่จำเป็นต้องอ่านเรื่องนี้



เผยแพร่โดย: basmifipthailand.com

เข้าไปดู Facebook ของเราได้ที่: facebook.com/basmifipthai

ดู 2,102 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page