top of page
Search

ยาแบบฉีด หรือ ยาแคปซูล: แบบไหนรักษาแมวเราจากโรค FIP ได้ดีกว่ากัน?

Updated: Feb 5




เมื่อเราต้องพิจารณาเลือกการรักษายาต้านไวรัส GS-441524 เราสามารถเลือกได้ 2 รูปแบบ: การรักษาด้วยการฉีดยา หรือ รักษาด้วยยาแคปซูล หรือยาเม็ด... แล้วแบบไหนถึงจะดีที่สุดสำหรับแมวของเรา?

ในบทความนี้เราจะมาดูประโยชน์ และโทษของการรักษาแต่ละรูปแบบ รวมไปถึงวิธีเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรักษาโรค FIP ของแมวที่เป็นที่รักของทุกคนกัน สำหรับยากินนั้น โดยทั่วไปแล้วจะเป็นยาเม็ด ซึ่งสามารถป้อนให้แมวได้เลย ทั้งนี้ในปัจจุบันการรักษามีหลายรูปแบบให้เลือกมากขึ้น โดยบทความนี้เราจะกล่าวถึงการรักษาด้วย GS-441524 สองรูปแบบ และวิธีการเลือกการรักษาให้เหมาะกับแมวของคุณที่สุด...


ยาแบบฉีด

ก่อนที่เราจะลงรายละเอียดของยาแบบฉีด เราจะพูดถึงรายละเอียดของ GS-441524 กันก่อน GS-441524 แบบฉีด มีหลายรูปแบบ และปริมาตรของยาหลากหลายไม่เท่ากัน ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณภาพของยาขึ้นอยู่กับขั้นตอนการผลิตยาจากทางผู้ผลิต รวมไปถึงคุณภาพของเคมีที่ใช้อีกด้วย ซึ่งคุณภาพ และปริมาตรยานี้ สร้างความสับสนให้กับเจ้าของแมวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลกับราคาในตลาด และแบรนด์ที่หลากหลาย


สำหรับ GS-441524 แบบฉีดนั้น มีความเข้มข้นหลายแบบ ความเข้มข้นที่พบเห็นในตลาดเยอะที่สุดในปัจจุบันคือ 15 มก. ,17 มก. และ 20 มก.สำหรับความเข้มข้นที่ 30 มก.นั้นมีแค่เรา BasmiFIP™เท่านั้นที่มีจัดจำหน่ายในตลาด ซึ่งความเข้มข้นที่มากขึ้นจะช่วยให้ฉีดยาน้องแมวที่น้ำหนักเกิน 5 กก. ได้ง่ายขึ้น



การรักษาโดย GS-441524 ด้วยการฉีดยานั้น เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การฉีดยาช่วยให้

GS-441524 ซึมเข้าสู่กระแสเลือดแมวได้ทันทีโดยการฉีดใต้ผิวหนัง การรักษาด้วยการฉีดยายังช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถคำนวณปริมาณยาได้อย่างถูกต้องตามอาการของโรคและน้ำหนักของแมวอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วแมวที่รักษาด้วยการฉีดยานั้นจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 1-4 วัน เพราะฉะนั้นการรักษาโดยการฉีดยาจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และเชื่อถือได้สำหรับการรักษาแมวที่มีอาการรุนแรงของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) ที่มีอันตรายถึงชีวิต


เราแนะนำให้เริ่มต้นการรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) ด้วยการฉีดยา และรักษาด้วยวิธีการนี้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งอาการของน้องแมวดีขึ้นและเริ่มคงที่ สามารถรับประทานอาหารได้เอง ขับถ่ายเป็นปกติ จึงจะสามารถพิจารณาเพื่อเปลี่ยนมาเป็นยากินได้


การรักษาด้วยการฉีดยานั้นจำเป็นต้องฉีดวันละครั้ง หลังจากเริ่มต้นการรักษาแบบฉีดไปแล้ว 2 สัปดาห์ แมวบางตัวอาจจะเริ่มมีการต่อต้านการฉีดยา ถ้าเป็นเช่นนั้น เราสามารถพิจารณาเพื่อเปลี่ยนเป็นยากินแทนได้ หากต้องการทราบปริมาณยาแบบฉีดที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ คุณสามารถใช้โปรแกรมคำนวณปริมาณยาอัตโมมัติของเราได้เลย

ยากิน

วิธีการรักษาด้วยการกินยา เป็นวิธีการให้ยาแมวที่ง่ายและรวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยการฉีดยา เจ้าของแมวสามารถให้ยาได้ง่ายๆที่บ้าน ประหยัดเวลาในการเดินทางไปคลินิก และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฉีดยาต่อครั้งไปได้ โดยยากินส่วนใหญ่จะเป็นแคปซูลหรือยาเม็ด ซึ่งโดยทั่วไปแมวจะกินยาที่เป็นแคปซูลได้ง่ายกว่ายาเม็ด เนื่องจากลักษณะเม็ดของแคปซูลมีความลื่นและไม่มีรสชาติ เรามักจะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาด้วยการกินยาเมื่อรักษาด้วยการฉีดยามาแล้วในระดับหนึ่ง หรือช่วงท้ายของการรักษาที่แมวพ้นขีดอันตรายแล้ว เช่นแมวสามารถกินอาหารได้ปกติ, ขับถ่ายเป็นปกติ, และไม่มีไข้



ทั้งนี้เราจะมาพูดถึงข้อด้อยของยากินกัน... ข้อเสียแรกสำหรับยากินเลยก็คือ ยาออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบฉีด เพราะยาต้านไวรัส GS-441524 แบบยากินนี้ต้องผ่านการกระบวนการย่อยก่อนจึงจะสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ข้อเสียถัดมาคือเราไม่สามารถควบคุมปริมาณยาที่แมวได้รับได้เหมือนยาฉีด ทำไมเราถึงควบคุมไม่ได้…? สาเหตุที่เราไม่สามารถควบคุมปริมาณของยากินได้นั้น เป็นเพราะแมวแต่ละตัวสามารถดูดซึม GS-441524 ได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสุขภาพ และระบบย่อยอาหารของแมวแต่ละตัว แมวอาจจะสามารถดูดซึมยาได้บางส่วนเท่านั้นหลังผ่านระบบย่อยแล้ว โดยทั่วไปแมวที่ป่วยด้วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมวนั้น การทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารจะอ่อนแอ นอกจากระบบย่อยอาหารจะอ่อนแอแล้ว ยังรวมไปถึงระบบการทำงานของ ตับและไตอีกด้วย จึงเป็นสาเหตุให้การดูดซึมของ

GS-441524 ที่แมวจะได้รับไม่เท่ากัน


การรักษาด้วยแคปซูล และยาเม็ดมีปัจจัยความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับการฉีดยา เราจึงแนะนำให้รักษาด้วยการกินยาหลังจากแมวได้รับการรักษาแบบฉีดมาแล้ว 30 วัน หรืออาการต่างๆของโรคดีขึ้นและเริ่มคงที่ คุณจะเห็นได้จาก ตารางเปรียบเทียบระหว่าง ยาฉีด และ ยากิน


เราลองมาดูรายละเอียดความแตกต่าง ของยาฉีด และยากิน ตามตารางด้านล่างนี้พร้อมๆกัน

วิธีการรักษา

ยาฉีด

ยากิน

รูปแบบ

ยาน้ำ

ยาแคปซูล

วิธีการใช้

ฉีดใต้ผิวหนัง

ป้อนยา

ข้อดี

  • ควบคุมปริมาณยาได้ง่ายกว่า

  • ดูดซึมได้เร็วกว่า

  • สังเกตเห็นอาการดีขึ้นของแมวได้เร็วกว่า

  • ยาบรรจุขวดมีอายุนานกว่า

  • ป้อนยาให้ง่ายกว่า

  • ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการให้ยา

  • แมวไม่เจ็บจากการฉีดยา

ข้อเสีย

  • แมวบางตัวอาจจะรู้สึกเจ็บเมื่อฉีดยา

  • ต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยาด้วยตัวเอง

  • แมวอาจจะดิ้นเวลาเราฉีดยา

  • แมวบางตัวอาจจะมีการระคายเคืองที่ผิวหนัง

  • ควบคุมปริมาณยาได้ยากกว่า

  • สังเกตเห็นอาการดีขึ้นของแมวได้ช้ากว่า

  • ไม่เหมาะกับแมวที่มาภาวะรุนแรงของโรค หรือแมวที่ป่วยด้วยโรคในระยะสุดท้าย

ราคา

จับต้องได้

ราคาแพงกว่ายาแบบฉีด

แล้วเราควรเลือกวิธีการรักษาแบบไหน? เราแนะนำให้เริ่มต้นการรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) ด้วยการฉีดยา แต่ถ้าแมวเริ่มมีปัญหาในการรับยาฉีด หรืออาการระคายเคืองที่ผิวหนังเนื่องจากการฉีดยาต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน คุณสามารถพิจารณาเพื่อเปลี่ยนเป็นยากินแทนได้ โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนรูปแบบการรักษาจากการฉีดยาเป็นการกินยานั้น ควรเริ่มหลังจากฉีดยาไปแล้ว 30 วัน วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าปริมาณยา GS-441524 จะอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการรักษาโรค และลดอัตราความเสี่ยงของการกำเริบของโรคในอนาคต


ติดต่อเรา ถ้าคุณต้องการข้อมูลในการรักษาที่เหมาะกับแมวของคุณที่สุด ผู้เชี่ยวชาญของเราทุกท่านยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม และช่วยเหลือคุณเสมอ


เผยแพร่โดย: Basmi FIP™ Thailand

Instagram: #basmifipth

13 views0 comments
bottom of page