top of page
ค้นหา

งานวิจัยทางคลินิก: เรื่องการใช้ Molnupiravir ในการรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP)

1. วัตถุประสงค์


เป้าหมายของการศึกษาวิจัยทางคลินิกนี้เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้ Molnupiravir เพื่อรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) ในรายงานนี้เราจะนำเสนอถึงวิธีการในการศึกษาวิจัย, ข้อมูลคลินิกวิจัยในการรักษาจริง, และข้อสรุปของประสิทธิภาพในการใช้ Molnupiravir ด้วยยาแบบทานในการรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (FIP) ในงานวิจัยนี้


2. บทนำ

มีรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2019 เกี่ยวกับภาวะการดื้อยา GS-441524 ในการรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) โดยเฉพาะในน้องแมวที่เป็น FIP ระบบประสาท


ปัจจุบันภาวการณ์ดื้อยาสามารถแก้ไขได้เพียง 2 วิธี ดังนี้:


1) เพิ่มปริมาณโดสยา GS-441524 ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงระดับของเหลวในร่างกายที่สามารถรักษาได้ และพ้นภาวการณ์ดื้อยา


2) สามารถแก้ไขได้ด้วย ใช้ยาปฏิชีวนะอื่นที่มีกลไกในการต้านไวรัส FIP ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะในการรักษาอย่างเดียวเลย หรือว่าใช้ร่วมกับ GS-441524

ในปัจจุบัน วิธีการที่ 1 เป็นที่นิยมเลือกใช้ในการรักษามากที่สุด และได้ประสิทธิภาพมากกว่า อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์ดื้อยานี้อาจมีโอกาสสูงที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของ รวมไปถึงความเจ็บที่เพิ่มจนมากเกินไปสำหรับน้องแมว

ในกรณีเหล่านี้ เราจึงได้ทำการศึกษาวิจัยทางเลือกในการรักษาอื่นเพิ่มเติม สาเหตุที่เราเลือก Molnupiravir มาวิจัยในครั้งนี้เพราะ เป็นที่นิยมและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในการรักษาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ และเป็นอาหารเสริมสำหรับ GS-441524


Monulpiravir เป็น Isopropylester โปร-ดรักของอนุพันธ์ของ เอ็น4-ไฮดรอกซีไซติดีน (N4-hydroxycytidine) ซึ่งสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัส FIP โดยการรวมเข้ากับจีโนมของไวรัส RNA นำไปสู่การสะสมไวรัสกลายพันธุ์ หรือ viral error catastrophe ซึ่งทำให้ไวรัส FIP เปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ไม่เป็นอันตรายต่อแมวในที่สุด


Beta-d-N4-hydroxycytidine ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ใน Molnupiravir มีอยู่ 2 รูปแบบคือ tautomers ในรูปแบบหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นไซทิดีนด้วยพันธะเดี่ยวระหว่างคาร์บอนกับหมู่ N-OH ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเลียนแบบยูริดีน จะมีออกซีมที่มีพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนกับหมู่ N-OH ในการปรากฏตัวของ beta-d-N4-hydroxycytidine RNA polymerase ที่ขึ้นกับ RNA ของไวรัสจะอ่านว่าเป็น uridine แทน cytidine และใส่ adenosine แทน guanosine การสลับไปมาระหว่างรูปแบบทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างการถอดความ ซึ่งส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์จำนวนมากในจีโนมของไวรัสและการหยุดจำลองแบบของไวรัส


3. วิธีการทดลอง


เราได้ทำการทดลองนี้ในแมวที่พบเชื้อ FIP จำนวนทั้งหมด 34 ตัว โดยมีอายุตั้งแต่ 5-96 เดือน

ในจำนวนแมวทั้ง 34 ตัวนี้ มีน้องแมว 21 ตัว (คิดเป็น 62%) มีการกำเริบของโรค และอีก 12 ตัว เป็นน้องแมวที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น FIP ในน้องแมวทั้งหมดนี้ได้รับการวินิจฉัยโรคทั้งสองรูปแบบคือ แบบแห้ง และแบบเปียก โดยน้องแมว 12 ตัวในการทดลองมีอาการทางระบบตา และระบบประสาท เนื่องจากการใช้ยาที่ไม่ได้รับการควบคุมดูแล จากกลุ่มคนขายยาไม่มีจริยธรรม


ปริมาณการให้ยา Molnupiravir ในการทดลองทางคลินิกนี้คือ

FIP แบบไม่ขึ้นตาและระบบประสาท: 10mg/kg PO SID [ให้ยาแบบทานวันละหนึ่งครั้ง]

FIP แบบขึ้นตาและระบบประสาท: 20mg/kg PO SID [ให้ยาแบบทานวันละหนึ่งครั้ง]


การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ระยะในการป้อนยา โดยในแต่ละระยะใช้เวลาทั้งหมด 30 วัน โดยจะตรวจเลือดทุก 30 วันหลังครบระยะการรักษาในแต่ละระยะ ในรายงานการวิจัยนี้ เราจะสรุปผลลัพธ์การรักษาด้วย Molnupiravir


ตารางที่ 1 แบ่งประเภทการรักษาตามกลุ่มอาการของน้องแมวแต่ละตัว โดยในแต่ละตัวจะได้รับปริมาณยาในปริมาณที่แตกต่างกันตามน้ำหนัก แล้วกลุ่มอาการ โดยก่อนทำการรักษา น้องแมวทุกตัวต้องทำการตรวจเลือดก่อน และจำเป็นต้องตรวจเลือดอีกครั้งหลังได้รับการรักษาครบ 30 วัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงต่อไป

Cat's Age

Cat's Weight (Kg)

FIP Type

Status